Advanced Search
Mortgage Calculator
หลังจากบริษัท “ท็อปไฟว์”อสังหาริมทรัพย์เมืองไทย ต่างทยอยประกาศกร้าวแผนการลงทุนและการทำตลาดแบบเชิงรุกมากขึ้น (aggressive) ทั้ง ตัวเลข”มูลค่าโครงการ” “ยอดขาย” และ”ยอดรับรู้รายได้” เป็นเป้าหมายการเติบโตแบบ “เท่าตัว” จากความเชื่อที่ว่าเศรษฐกิจปีนี้จะสดใสกว่าปีที่ผ่านมา และกำลังซื้อจะขยายสู่ชนชั้นกลางเพิ่มมากขึ้น จากนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะนโยบายรับจำนำข้าวตันละ 15,000 บาท และค่าแรง 300 บาทต่อวัน ขณะที่เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา การเปิดตัวโครงการใหม่ในช่วงต้นปีจะไม่ค่อยหวือหวามากนัก เนื่องจากผู้ประกอบการยังมีความกังวลจากปัญหาน้ำท่วม สัปดาห์ที่ผ่านมา มีความเคลื่อนไหวของ 3 บิ๊กอสังหาฯ ได้แก่ “พฤกษา แสนสิริ และแอลพีเอ็น” ที่เปิดแผนการลงทุนรวมมูลค่าโครงการมากถึง 1.36 แสนล้านบาท จากจำนวนโครงการที่มีแผนจะเปิดตัวรวมกันไม่ต่ำกว่า 136 โครงการ ยังไม่นับรวมโครงการของบริษัทพัฒนาอสังหาฯรายใหญ่อื่นๆ ที่จะทยอยแถลงแผนธุรกิจออกมาในสัปดาห์นี้ ไม่ว่าจะเป็น แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ , ยูนิเวนเจอร์ ,โนเบิล ดีเวลลอปเม้นท์ ฯลฯ ก่อนหน้านี้หลายบริษัทอสังหาฯเปิดตัวเลขโครงการในปีนี้ออกมา ไม่ว่าจะเป็น ควอลิตี้เฮ้าส์,เอเชี่ยน พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ ที่มีแผนเปิดตัวโครงการใหม่ประมาณ 17 โครงการ รวมมูลค่ากว่า 2 หมื่นล้านบาท ,ศุภาลัย เปิดตัว 17 โครงการ รวมมูลค่ากว่า 2 หมื่นล้านบาท …
ผลกระทบจากค่าแรงที่เพิ่มขึ้น และต้นทุนค่าวัสดุก่อสร้างที่ปรับราคาต่อเนื่อง ตลอดจนค่าพลังงาน และค่าครองชีพที่สูงขึ้น ทำให้แนวโน้มราคาสินค้าต่างมีทิศทางเพิ่มขึ้น รวมถึงราคาบ้านและคอนโดฯ ซึ่งผู้ประกอบการหลายรายสรุปตรงกันว่า ในปี 2556 แนวโน้มสินค้าในกลุ่มที่อยู่อาศัย จะเพิ่มขึ้นแน่นอนไม่น้อยกว่า 5% อย่างเลี่ยงไม่ได้ “พฤกษา”ชี้แนวโน้มปี56ราคาบ้านพุ่ง 5% นายทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์ ประธานกรรมการบริหาร และกรรมการผู้จัดการ บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แนวโน้มภาพรวมอสังหาฯใปนี 2556 คาดว่าด้วยปัจจัยต่างๆ ทั้งค่าแรงที่เพิ่มขึ้น ค่าวัสดุก่อสร้างที่ปรับราคา และค่าพลังงานที่จะสูงต่อเนื่อง เชื่อว่าจะทำให้ราคาบ้านในภาพรวม จะต้องขยับขึ้นมาประมาณ 5% เป็นอย่างน้อย หรืออาจถึง 10% หากการบริหารต้นทุนไม่ดี อีกทั้งภาวะเงินเฟ้อก็มีแนวโน้มจะสูงขึ้น แต่กำลังซื้อของคนเชื่อว่าจะไม่เพิ่มมาก จึงเป็นโจทย์สำคัญ ให้บริษัทฯต้องปรับตัวทั้งระบบ ทั้งปรับปรุงแบบ ปรับระบบการบริหารงาน และระบบการก่อสร้าง เพื่อประหยัดต้นทุนผลิตสินค้าออกมาให้รองรับกำลังซื้อที่ยังทรงตัวให้ได้ ในส่วนของพฤกษาเอง ซึ่งทำระบบก่อสร้างกึ่งสำเร็จรูป และมีระบบควบคุมการก่อสร้างแบบครบวงจร เชื่อว่าจะสามารถควบคุมต้นทุนได้ระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม คาดว่าด้วยต้นทุนที่เพิ่มขึ้น และภาวะเงินเฟ้อที่กระทบต่อกำลังซื้อประชาชน การปรับราคาบ้านขึ้นไปสูงคงทำได้ยาก มีความเป็นไปได้ที่ผู้ประกอบการ จะปรับขนาดบ้านลงมาให้เหมาะสมกับราคาที่ผู้บริโภครับได้ บ้านจัดสรรถูกสุดเริ่มที่1.5 ล้านบาท นายอิสระ บุญยัง ฐานะนายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร เปิดเผยถึงทิศทางราคาที่อยู่อาศัยในปี 2556 ว่า …
นักวิชาการ แนะผู้ประกอบการอสังหาฯไทยเร่งปรับตัว รับการแข่งขัน-กำลังซื้อหลังเปิดเออีซี เผยเทรนด์ลูกค้า “ซื้อ”เพื่อลงทุน นายธนวรรธ์ พลวิชัย รองคณบดีฝ่ายวิจัยและผู้อำนวยการ ศูนย์พยากรณ์เศรษฐิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวในงานสัมมนา “ตีฝ่าวิกฤต เพื่อธุรกิจที่สดใสในปี 56” หัวข้อ “ผลกระทบของวิกฤตยูโรโซนและการเตรียมตัวสู่เออีซี” ว่า ภาคธุรกิจแต่ละกลุ่มจะได้รับผลกระทบที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาภัยพิบัติ ทั้งภาวะโลกร้อน น้ำท่วม ราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงปัญหาเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ดังนั้นผู้ประกอบการไทยจะต้องเร่งปรับตัวรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น ขณะที่เศรษฐิจในยุโรปกำลังถดถอยลง แต่เศรษฐกิจอาเซียนกำลังเติบโตต่อเนื่อง ทั้งการลงทุนและการจับจ่ายของผู้บริโภค และการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน รวมทั้งการทำข้อตกลงร่วมกันระหว่างอาเซียน และประเทศอื่นๆ จะกระตุ้นให้ภูมิภาคนี้มีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง “อินโดนีเซียในอีก 18 ปี ข้างหน้าจะเป็นประเทศที่มีศักยภาพและใหญ่สุดในอาเซียน ปัจจุบันมีเศรษฐกิจเป็นอันดับ 14 ของโลก เทียบกับไทยที่อยู่อันดับ 30 ของโลก เพราะมีทรัพยากรและประชากรจำนวนมาก รวมถึงประเทศที่เกิดใหม่อย่างพม่า ตั้งเป้าว่าจะเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจแซงหน้าสิงคโปร์ในอนาคต” นายธนวรรธ์ กล่าว ทั้งนี้ ภาพรวมตลาดอสังหาฯ ปีหน้า คาดว่าการเติบโตจะอยู่ในช่วงครึ่งปีหลัง โดยขึ้นอยู่กับสถานการณ์เศรษฐกิจโลกและน้ำท่วมในไทยเป็นตัวแปรสำคัญ และเชื่อว่าว่าจะไม่เกิดปัญหาโอเวอร์ซัพพลายในธุรกิจอสังหาฯไทย เนื่องจากยังมีความต้องการซื้อในตลาดหลากหลายกลุ่ม โดยจะมีการปรับราคาเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ด้านนายสัมนา คีตสิน ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (อาร์อีไอซี) กล่าวว่าผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ไทยมีการปรับตัวได้รวดเร็ว เนื่องจากเป็นผู้บริหารรุ่นใหม่และมีวิสัยทัศน์ในการทำตลาดใหม่ เห็นได้จากนโยบายกระจายความเสี่ยงธุรกิจไปยังต่างจังหวัด ในหัวเมืองต่างๆ …
ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในภูมิภาคอาเซียน เป็นหนึ่งในภาคธุรกิจที่ถูกพูดถึงเป็นอันดับต้นๆ เมื่อประตูสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี จะเปิดในปี 2558 ทำให้ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ต้องเปิดเวทีสัมมนา “เออีซีและตลาดอสังหาริมทรัพย์ในภูมิภาคอาเซียน” สัมมา คีตสิน ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า ภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ในภูมิภาคอาเซียนมีโอกาสที่ดีไม่ว่าจะเป็นพม่าซึ่งเป็นตลาดเปิดใหม่อินโดนีเซียประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจและจีดีพีใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ฟิลิปปินส์ที่มีการเติบโตเป็นอันดับที่สองของอาเซียนรองจากอินโดนีเซีย ขณะเดียวกันก็ต้องยอมรับว่าในโอกาสก็มีอุปสรรคที่นักลงทุนต้องให้ความสำคัญ โดยเฉพาะเรื่องกฎหมายในหลายประเทศที่ยังไม่ชัดเจน เมื่อแยกรายประเทศเริ่มจากอินโดนีเซีย ที่ผ่านมาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทั้งคอนโดมิเนียมศูนย์การค้า และโรงแรม กำลังเติบโตอย่างมาก แต่มีข้อจำกัดเรื่องอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านที่สูงมาก การถือครองอสังหาริมทรัพย์ของต่างด้าว สำหรับตลาดเวียดนาม ซึ่งร้อนแรงมากในช่วงปี 2543-2551 ปัจจุบันเข้าสู่ภาวะถดถอยรุนแรง ระบบสถาบันการเงินง่อนแง่น มีหนี้เสียมาก รอความช่วยเหลือจากไอเอ็มเอฟประสบภาวะดอกเบี้ยสูง เงินเฟ้อสูง ซึ่งล้วนเป็นอุปสรรค แต่นักลงทุนก็ยังมองว่าน่าสนใจ ขณะที่ ประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท พฤกษาเรียลเอสเตท มองว่า การทำธุรกิจในเวียดนามต้องสายป่านยาวมาก เพราะต้องยอมรับกับความเสี่ยงที่จะยังไม่ได้พัฒนาโครงการทันที โทนี่ พิคอน ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บริษัทคอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยกล่าวว่า พม่าเป็นตลาดที่น่าสนใจ แต่ยังวิเคราะห์ยากมาก เพราะยังมีเรื่องการเมืองซึ่งกฎหมายไม่ได้เลวร้าย แต่การปฏิบัติตามกฎหมายยังไม่ดีนัก ระบบการเงิน การธนาคารยังไม่เรียบร้อย ด้าน มานพ พงศทัต อาจารย์ประจำภาควิชาเคหะการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า เออีซีไม่ใช่เรื่องใหม่เพราะเกิดขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่เกิดการรวมตัวของสหภาพยุโรป หรืออียู ซึ่งเออีซีต้องเอาโมเดลของอียูมาศึกษาข้อดีข้อเสีย …
นักวิชาการ เผย พิษน้ำท่วม 54 ทำปชช.ผวาหนัก คาดปีนี้น้ำท่วมอีกแต่ไม่หนักเท่าปีก่อน ดันคอนโดมิเนียมโตขึ้นจากปีก่อน 10% ส่วนตลาดอสังหาฯต่างจังหวัดคึก หลังต่างชาติเข้าลงทุน… เมื่อวันที่ 19 ก.ย. นายมานพ พงศทัต อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในการสัมมนา “AEC และตลาดอสังหาริมทรัพย์ในภูมิภาคอาเซียน” ว่า คนกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ยังกังวลสถานการณ์น้ำท่วมโดยไม่เชื่อว่าน้ำจะไม่ท่วม แม้รัฐบาลจะพยายามทำงานแต่ยังไม่เข้าตาประชาชน และยังแก้ปัญหาไม่ตรงจุด ควรแก้โดยการนำแนวทางพระราชดำริมาปรับใช้ ทั้งการสร้างแก้มลิง เขื่อน การปล่อยน้ำลงทะเล โดยส่วนตัวเชื่อว่าปีนี้น้ำคงจะท่วมอีก แต่ไม่รุนแรงเท่ากับปีที่ผ่านมา ดังนั้น ประชาชน และผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่บางบัวทอง รังสิต ที่ประสบน้ำท่วมในปีก่อน ได้เตรียมป้องกันสถานการณ์ไว้แล้ว
นายนริศ ชัยสูตร อธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผยว่าในที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณาราคาที่ดินเมื่อวันที่ 11 มิ.ย. ที่ผ่านมา ที่ประชุมหารือถึงกรณีกำหนดราคาที่ดินใหม่ และยืนยันว่าจะให้ใช้ราคาประเมินที่ดินใหม่ วันที่ 1 ก.ค. 2555 นี้เป็นต้นไป หลังจากเลื่อนประกาศใช้มา 6 เดือน คือ 1 ม.ค. – 30 มิ.ย. 2555 สำหรับบัญชีราคาที่ดินที่จัดทำนั้น เป็นการประเมินราคาที่ดินทั่วประเทศ 29.3 ล้านแปลง หรือคิดเป็นพื้นที่ประมาณ 321 ล้านไร่ พบว่าราคาที่ดินปรับสูงขึ้นเฉลี่ย 21.34% โดยที่ดินในต่างจังหวัดปรับขึ้น 21.4% กทม.ปรับขึ้น 17.13% ส่วนบริเวณที่มีราคาประเมินแพงที่สุดของประเทศอยู่ที่ถนนสีลม กทม. ตั้งแต่แยกศาลาแดงไปจนถึงแยกนราธิวาสราชนครินทร์ ตรว.ละ 8.5 แสนบาท จากเดิมอยู่ที่ 6.5 แสนบาท เพิ่มขึ้น 31% รองลงมาคือ ถนนราชดำริ แยกราชประสงค์ถึงคลองแสนแสบ ถนนพระรามที่ 1 แยกปทุมวันถึงแยกราชประสงค์ และถนนเพลินจิตตลอดสาย ตรว.ละ 8 แสนบาท จากเดิมอยู่ที่ 3.5 – 4.3 แสนบาท อันดับ …